top of page
Branding_100[Jun2023]-03.jpg

แรกมีด้วยพระกรุณา - ปลานิล ปลาพระราชทาน


คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับปลานิลมาเป็นเวลานาน แต่รู้หรือไม่ว่าปลานิลนั้นไม่ใช่ปลาของไทย แต่มีถิ่นกำเนิดจากต่างแดน ก่อนจะถูกนำมาเพาะพันธุ์ในไทย เนื่องด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาเพาะเลี้ยงและทรงพระราชทานชื่อภาษาไทยว่า ปลานิล มาทำความรู้จัก ปลานิล ปลาพระราชทานจากในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อความอยู่ดีกินดีของปวงชนชาวไทยกันนะคะ

The Nile Tilapia or “Pla Nil” have long been familiarized among Thai people, but not many know that the fish aren’t native to Thailand. They were imported and bred in the country. With the great vision of His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej (King Rama IX), he raised the imported fish and bestowed the fish with the name “Pla Nil”. Now, let’s get to know Pla Nil, the royal gift of King Rama IX for the better lives of his people.

ปลานิล มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Nile tilapia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาน้ำจืดที่จัดอยู่ในวงศ์ปลาหมอสี มีแหล่งกำเนิดในแถบบริเวณตอนกลางค่อนไปทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา การเลี้ยงปลานิลในไทย เริ่มจากเมื่อครั้งที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าน้อมถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (Tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จากนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำปลานิลไปพักเลี้ยงไว้ในบ่อปลา ณ พระราชวังสวนจิตรลดา พร้อมกับพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล" ตามชื่อต้นในภาษาอังกฤษและคำว่า "นิล" ยังมีความหมายถึงสีดำ ที่เป็นลายปรากฏอยู่บนลำตัวของปลา นอกจากนี้ยังเป็นคำสั้นๆ ที่ประชาชนนั้นสามารถเรียกและจดจำได้ง่าย

Nile Tilapia (Oreochromis niloticus), also known in Thai as “Pla Nil”, is a species of tilapia, a colored cichlid fish native to Africa from Egypt all the way to the south and central Africa. Pla Nil were first introduced to Thailand during the royal visit of Emperor Akihito when he was still the Crown Prince of Japan. After returning to Japan, the Crown Prince Akihito sent 50 Nile Tilapias to His Majesty King Bhumibol Adulyadej on 25 March 1965. His Majesty decided to raise the given Nile Tilapias in a fish pond inside his Chitralada Palace and bestowed the name “Pla Nil” to reflect the fish’s English name “Nilotica” or the Nile River Fish. Besides, the word “Nil” in Thai language means “Black” which reflects the dark stripes on the fish’s body and it’s also a short and easy name that Thai people would be able to memorize and call.

กระทั่งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิลให้แก่กรมประมง เพื่อนำไปเพาะเลี้ยง แล้วแจกจ่ายให้กับพสกนิกรเพื่อนำไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพราะเป็นพันธุ์ปลาที่มีความอดทน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในเขตร้อนได้ดี เลี้ยงง่าย โตไว และสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง รวมผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้งต่อปี อีกทั้งปลานิลยังเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง หาซื้อง่าย และมีราคาถูกอีกด้วย

On 17 March 1966, His Majesty King Bhumibol Adulyadej gave juvenile Pla Nil fish to the Department of Fisheries for breeding and distribution to the people so they could make a better living and generate more income. Nile Tilapia is a very hardy type of fish. They can adjust themselves very well to the tropics. They are very easy to keep, grow fast and can breed throughout the year—each breeding season takes about 2-3 months so they can breed 5-6 times a year. Moreover, Pla Nil is a great source of protein, easy to find in markets and very affordable.

ประโยชน์ของปลานิลยังมีอีกหลากหลาย เพราะเป็นปลาที่มีเนื้อมากและมีรสชาติดี จึงนำไปทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งทอด แกง ต้ม ในเนื้อปลายังมีเอนไซม์ทรานกลูทามิเนส (TG) นำมาผลิตเป็นเจลใสใช้สำหรับสลบสัตว์น้ำ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย

There’re many other benefits of Pla Nil because they’re very meaty and tasty so people can cook them in many recipes such as deep fried, curries, and soup. In the fish meat itself, there’s Transglutaminase enzyme (TG) which is extracted to produce a clear gel for putting aquatic animals into a trance and used in a number of other products of aquatic animals.

นอกจากนี้ก็ยังมีการต่อยอดพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ด้วยการนำปลานิลจิตรลดาพระราชทาน มาเป็นต้นตระกูลเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตามแนวพระราชดำริ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล ทั้งจากอเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆ ได้แก่ ปลานิลอเมริกา เป็นปลาสีแดงสวยและทนต่อความเค็มของน้ำ ปลานิลอิสราเอล เป็นปลาที่เลี้ยงในความหนาแน่นสูงได้ และ ปลานิลไต้หวัน ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ด้วยการใช้วิธีการตามธรรมชาติ โดยนำปลานิลต่างสายพันธุ์มาผสม และพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แล้วจึงคัดเลือกลักษณะเด่นต่างๆ

Additionally, there have been further developments of the breed by using Pla Nil from the King’s Chitralada Palace as the original breed and mixing with other breeds of tilapia from USA, Israel and Taiwan. Each breed has its own unique and remarkable qualities. For instance, American Tilapia has a bright red color and can withstand the salinity of the water. Israeli Tilapia can be kept in highly dense captivity. And Taiwanese Tilapia grow very rapidly. Through natural breeding of these tilapias from different countries, the better breed of “Pla Nil” has been developed through the selection of preferred outstanding traits.

จนกระทั่งได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่น คือ สีของเกล็ด และตัวปลาที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” ที่สำคัญยังมีลักษณะเด่นที่ความอดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย ทั้งปลาทับทิม และปลานิลถูกเรียกว่าเป็นปลา 2 น้ำ เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา ด้วยข้อดีด้านคุณค่าทางโภชนาการ มีปริมาณเนื้อมาก และมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วในระยะเวลาเพียง 4-5 เดือน ทางกรมประมงจึงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพกันอย่างแพร่หลาย

With these efforts, the new breed of meaty Pla Nil is created with the new remarkable physical trait—the colors of the scales. The scales of the newly-bred fish have a glowing red and white pantone like ruby. On 22 January 1998, His Majesty King Bhumibol Adulyadej bestowed the fish with the new name “Pla Tabtim” due to its ruby-liked colors. Pla Tabtim is a very hardy breed of fish that can thrive in brine water. As a result, both Pla Tabtim and Pla Nil are called the Fish of the 2 Waters. They’re full of meat and reach maturity very quickly in just 4-5 months. Therefore, the Department of Fisheries of Thailand has widely encouraged agriculturists to raise them throughout the country.

Find your fresh, clean & high quality food at here

Yorumlar


Branding_100[Jun2023]-02.jpg
shop anywhere.jpg
bottom of page