เช็คลิสต์ผักผลไม้ชนิดใด ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
เพื่อนๆ อาจคุ้นเคยกับคำแนะนำทางโภชนาการที่มักชูความสำคัญของการทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ เพื่อทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมาก่อนใช่ไหมคะ? ในบรรดาอาหารหมู่ต่างๆ “ผักและผลไม้” ซึ่งจัดอยู่ในแหล่งอาหารหมู่ที่ 3 และ 4 ตามลำดับถือว่ามีความสำคัญในฐานะแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากค่ะ เพราะอาหารบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ หากได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไป ว่าแต่จะมีผักผลไม้ชนิดใดบ้างที่ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานบ้าง? วันนี้แอดมินจะมาไขข้อข้องใจ พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยโรคไต มาติดตามกันเลยค่ะ
In general, you might be acquainted with nutritionist recommendation that you should consume all the 5 main food groups essential for your body. Among all the main food groups, “fruits and vegetables” are categorized in the 3rd and 4th food group respectively. They are incredible sources of vitamins and minerals your body requires to maintain good health.
For kidney patients, however, it is necessary to select a kidney-friendly diet since some foods might be harmful for their health if consuming too much. What are fruits and vegetables that kidney patients should avoid? We will provide you with answers to the questions and also healthy diet tips for kidney patients.
ทำความรู้จักกับโรคไตเบื้องต้น
What is Kidney Disease?
“ไต” เป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งในร่างกาย มีลักษณะคล้ายกับเมล็ดถั่วขนาดเล็ก 2 เมล็ด ทำหน้าที่คอยขจัดคัดกรองของเสีย นอกจากนั้นยังช่วยควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายและสังเคราะห์ฮอร์โมนต่างๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด วิตามินดี และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย เพราะฉะนั้นเมื่อไตทำงานผิดปกติหรือเสื่อมประสิทภาพลง ก็อาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับไต เช่น ไตอักเสบ นิ่วในใต ไตอักเสบเรื้อรัง และไตวายได้ค่ะ เมื่อเป็นโรคไตแล้ว ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการในช่วงแรกเริ่ม แต่จะสัมผัสได้เมื่อแสดงอาการร้ายแรงขึ้นภายหลัง โรคไตจึงเป็นภัยเงียบที่หลายคนไม่ควรมองข้ามค่ะ
“Kidney” is one of the most important organs in the body. It looks similar to 2 small peas and acts as a filter to remove waste, controls acid-base balance, get rid of excess fluids, and synthesizes hormones to promote the formation of blood cells, vitamin D, and control the amount of body fluids. So, when kidney functions deteriorate or not work properly, kidney-related symptoms such as nephritis, kidney stones, chronic nephritis, and kidney failure appear. Signs or symptoms of kidney disease might not be apparent until the kidney is significantly damaged later on. Accordingly, kidney disease is a silent killer that should not be neglected.
ผักและผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
Fruits and vegetables that kidney patients should avoid.
บ่อยครั้งที่มักได้ยินคำกล่าวว่า “ทานอาหารเค็มจัด มักเสี่ยงโรคไต” แต่ที่จริง สาเหตุของการเกิดโรคไตไม่ได้มาจากการได้รับปริมาณโซเดียมสูงเสมอไป ผู้ป่วยโรคไตยังต้องให้ความสำคัญกับปริมาณ “โพแทสเซียม” (Potassium) ที่ทานในแต่ละวันด้วยค่ะ เพราะเมื่อไตทำงานผิดปกติ การขจัดโพแทสเซียมจึงมีประสิทธิภาพลดลง ระดับโพแทสเซียมที่ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับเพียง 1,500 กรัมต่อวัน จึงอาจสูงเกินกว่าปกติ และส่งผลเสียตามมาได้ เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) เป็นต้น และนี่คือตัวอย่างผักและผลไม้มีปริมาณโพแทสเซียมสูงค่ะ
We usually know that a “high-salt diet risks kidney disease”, however high sodium food is not always the case. Kidney patients should pay attention to the amount of “potassium” daily in their diet. The reason is that when kidney fails to function properly, its ability to remove potassium is declined. In reality, the average amount of potassium recommended for kidney patients should not exceed 1,500 g. per day. Too much potassium intake might exceed the recommended potassium intake and result in adverse effects such as hyperkalemia condition. Below is a list of fruits and vegetables high in potassium
ทุเรียน, ขนุน, กล้วย, ส้ม, ลำใย, ลูกพรุน ,กระท้อน, มะเฟือง, มะขามหวาน, น้ำมะพร้าว, น้อยหน่า, ฝรั่ง, ลูกพลับ, มะม่วง, มะเฟือง, มะปราง, แก้วมังกร, เสาวรส, มะละกอ, ทับทิม ฯลฯ
Durian, jackfruit, banana, orange, longan, prune, santol fruit, starfruit, sweet tamarind, coconut water, sugar apple, guava, persimmon, mango, star apple, Marian plum, dragon fruit, passion fruit, papaya, pomegranate, etc.
คะน้า, ปวยเล้ง , บล็อกโคลี, ผักโขม, กะเพรา, โหระพา, ขี้เหล็ก, ชะอม, แคร์รอต, ฟักทอง, มะเขือเทศ, หน่อไม้, มันฝรั่ง, ใบชะพลู ฯลฯ
Collard, spinach, broccoli, amaranth, basil, sweet basil, cassia siamea, climbing wattle, carrot, pumpkin, bamboo shoot, potato, wild betel leaves, etc.
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้มีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ในปริมาณสูงเช่นกัน เพราะกรดออกซาลิกที่มีค่าความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้ม (Acetic Acid) ถึง 10,000 เท่า เมื่อมาอยู่ในรูปของ ออกซาเลต (Oxalate) สารชนิดนี้จะป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม เมื่อร่างกายไม่ดูดซึมแคลเซียม ระดับแคลเซียมจึงสูงขึ้นและอาจนำไปสู่การก่อตัวของนิ่วในไตได้ค่ะ
Moreover, those diagnosed with kidney disease should avoid fruits and vegetables high in oxalic acid because oxalic acid contains level of acetic acid 10,000 times higher than that found in orange juice, especially in the form of oxalate. This compound blocks calcium absorption, resulting in a higher amount of accumulated calcium which leads to kidney stones later.
เลือกทานผักผลไม้อย่างไรให้ดีต่อไต
How to select kidney-friendly fruits and vegetables?
อย่างที่แอดมินได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเลือกทานผักและผลไม้เป็นพิเศษค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักผลไม้กลุ่มสีเข้ม แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยโรคไตจะไม่สามารถทานผักและผลไม้เลยทีเดียว และนี่เป็นเคล็ดลับเลือกทานผักผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคไตจากแอดมินค่ะ
As we mentioned previously that kidney patients should be careful when selecting fruits and vegetables, especially dark-colored vegetables. However, kidney patients don’t have to take out fruits and vegetables entirely from their diets. The following section is lists healthy fruits and vegetables for kidney patients.
เลือกทานผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล, ชมพู่, ลองกอง, แตงโม, เงาะ, มังคุด, องุ่น,บลูเบอร์รี, แบล็คเบอร์รี, แครนเบอร์รี, พีช, แพร์, สัปปะรด, สตรอว์เบอร์รี และผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ เช่น ผักกาดขาว, แตงกวา, มะเขือยาว, เคล, หัวหอม, แรดิช, วอเตอร์เครส, ซุกกินี, ดอกกะหล่ำ เป็นต้น
Select low potassium fruits such as apples, rose apples, southern langsat, watermelon, grapes, mangosteen, blueberries, blackberries, cranberries, peach, pears, pineapples, strawberries, and low-potassium vegetables such as Chinese cabbages, cucumber, eggplant, kale, onion, radish, watercress, zucchini, cauliflowers, etc.
ก่อนทานผักบางชนิด เช่น มันฝรั่ง, มันหวาน, แคร์รอต ควรปลอกเปลือกและชะล้าง (Leaching process) ด้วยน้ำอุ่นก่อน จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นๆ และแช่ไว้ในน้ำเปล่าเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ก่อนนำไปประกอบอาหาร หรือถ้าต้องการย่นระยะเวลา สามารถนำผักไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 10 นาทีจากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุณหภูมิปกติและนำไปต้มซ้ำอีกครั้งราว 10 นาที
Before consuming some kind of vegetables such as potato, sweet potato, and carrot, you should peel and soak them in boiled water before slicing them into pieces, then soak the sliced vegetables in plain water for 2-4 hours before cooking. Anyway, if you prefer to save time, you could cook the vegetables in boiling water for 10 minutes, then soak in plain water at room temperature, and cook in boiling water once again for 10 minutes.
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเลือกทานผักและผลไม้ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไต และหมั่นเลือกผักและผลไม้ที่สดใหม่ มีคุณภาพ ปราศจากสารเคมี หรือสารปนเปื้อน
Consult a doctor or health professional for dietary advice and kidney-friendly fruits and vegetables. Also, it’s recommended to select fresh, chemical, and contamination-free fruits and vegetables in great quality.
และนี่เป็นสาระน่ารู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อนเลือกช็อป แอดมินแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเช็คฉลากโภชนาการหรือมองหาสัญลักษณ์ “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” (Healthier Choice) ก่อนช็อปนะคะ มาเริ่มต้นดูแลสุขภาพวันนี้ด้วยสินค้าเพื่อสุขภาพที่ เฮลธิฟูล (Healthi.ful) โซนจำหน่ายสินค้าและอาหารเพื่อสุขภาพครบวงจร หรือเลือกช็อปผ่านช่องทาง ท็อปส์ ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยค่ะ :)
These are some useful kidney fruits and vegetable guidance so that kidney patients know what types of food they should avoid. Whether they be fruits, vegetables, or other food products, it is necessary that you consult the doctor and read the nutrition facts label or look for “Healhier Choice” nutritional logo before making a purchase. Start taking care of your health with healthiful products at healthy food and products in the health aisle or visit Tops Online for 24 hours shopping.
תגובות